วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดีที่  26  มกราคม พ.ศ.2555


   การเรียนการสอน
  • อิทธิบาท 4
คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่
  • การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ควรคำนึงถึง พัฒนาการ ความพร้อม ความต้องการและควมหมาย
  • มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรูปแบบ วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การใช้ภาษาพูดและเขียน การพัฒนาทักษะการใช้ภาษา ดังกล่าว จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น
  • เด็กเรียนการฟังและการพูด โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่ เมื่ออายุได้สี่ถึงห้าปี
  • สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนักและมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็กก็คือความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งด้านภาษาศาสตร์
  • บลูมและลาเฮย์ ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการ คือ

  1. ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส (code)
  2. ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติเกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์
  3. ภาษาเป็นระบบ

  • สรุป ภาษาคือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขั้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
  • องค์ประกอบภาษา คือ เสียง ไวยากรณ์ ความหมาย การอ่าน ระบบเสียง คำ ประโยค คำศัพท์ ประโยคข้อความ สัญลักษณ์การอ่าน ตัวอักษร
                                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น