วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วัน พฤหัสที่  8 มีนาคม พ.ศ.2555

             การเรียนการสอน

  • อาจารย์ให้ส่งงาน Big Book และส่งงานบัตรคำ
  • อาจารย์คอมเม้นต์งานพร้อมให้แก้ไข
                สิ่งที่อาจารย์คอมเม้นงาน Big  Book
  1. ตัวหนังสือใหญ่เกินไป
  2. รูปภาพไม่ตรงกับคำ
                     สิ่งที่อาจารย์คอมเม้นงาน บัตรคำ
  1. ตัวหนังสือใหญ่เกินไป

                        งาน Big Bookของกลุ่มข้าพเจ้าที่แก้ไขแล้ว



                               
                           งาน บัตรคำ พยัญชนะตัว ช ที่แก้ไขแล้ว

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

 วัน พฤหัส ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

          การเรียนการสอน

  • ครูพาร้องเพลง ก - ฮ
  • ครูแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ 4 คน ให้ทำบัตรคำ ( กลุ่มข้าพเจ้าได้ พยัญชนะตัว ช )
  • เพื่อน ๆ นำเสนองานที่ค้าง และอาจารย์ให้คำแนะนำให้แก้ไข
                          

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วัน พฤหัส ที่  23  มีนาคม พ.ศ. 2555

          การเรียนการสอน

  • วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่ม พรีเซนต์ งานที่ตัวเองไปทำ หนังสือภาพมา
                                   งานของกลุ่มข้าพเจ้า


   คำแนะนำจากอาจารย์

  • ให้เขียนเป็นบรรทัดเดียวกัน เพราะดูง่้ายอยู่ในรูปประโยค
  • หน้าปกควรจะมีรูปภาพ ผลไม้
  • ควรใช้คำถามกับเด็ก
  • ถ้าเด็กเขียนผิด ให้เด็กแก้คำที่ถูกต้อง
  • คำลงท้าย ควรให้เห็นประโยชน์มากกว่านี้

                        


                                       

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันเสาร์ ที่18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555   (เรียนชดเชย)

       
กิจกรรมที่อาจารย์ให้ความรู้วันนี้


* อาจารย์ให้นำกระดาษใช็แล้ว 1 หน้า  นำมาทำกิจกรรมดังนี้
-อาจารย์ให้วาดภาพอะไรก็ได้คนละ  1 ภาพ และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาหน้าชั้นเรียนครั้งละ 10 คน เพื่อที่จะให้เล่านิทานจากภาพที่เราวาดและโดยเล่าต่อๆกันไปเรื่อยๆโดยดิฉันได้วาดรูป " ส้ม "
-อาจารย์ให้วาดรูปแทนคำโดยให้เพื่อนทายว่าที่เราวาดหมายถึงอะไร 

โดยดิฉันได้วาดคำว่า  " รถไฟ "  
- อาจารย์ให้เขียนพยัญชนะไทยและอาจารย์แบ่งกลุ่มละ 9 - 10 คนโดยให้กลุ่มดิฉันทำเกี่ยวกับอักษรต่ำโดยดิฉันได้เขียนตัว "ส" และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเขียนสระที่อยู่ข้างหน้าว่ามีอะไรบ้างโดยกลุ่มของดินฉันได้เขียน " 
เ"  และ "แ"
- อาจารย์ให้ทำภาพและคำโดยให้พับครึ่งกระดาษก่อนแล้วแบ่งเป็นสองส่วนโดยส่วนบนให้วาดภาพพร้อมเขียนชื่อของภาพไว้ใต้รูปภาพที่เราวาดและส่วนล่างให้แบ่งช่องว่างให้เท่ากันและเขีียนแต่ละคำลงในช่องว่างที่เราแบ่งไว้ตามคำที่เราเขียนไว้ด้านบนตามที่เราวาด
- อาจารย์ให้เรียนรู้เรื่องรูปแบบของภาษา เสียงพยัญชนะ และ เสียงสระ 


พยัชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว


อักษรกลางมี 9 ตัว  คือ   ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูงมี 11 ตัว  คือ   ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำเดี่ยวมี 10 ตัว  คือ   ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล 

อักษรต่ำคู่มี 14 ตัว 



หมายเหตุ   ไม่ได้มาเรียน ลอกจาก นางสาว อารีวรรณ  พวงเงิน  เนื่องจากไม่สบาย


                

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วัน พฤหัส ที่  16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

      การเรียนการสอน
  • อาจารย์แนะนำเรื่องการเขียนบล็อค
  • อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมเพื่อประสบความสำเร็จ
       การทำหนังสือภาพ
  1. ควรเลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์
  2. อาจารย์ยกตัวอย่าง หนังสือภาพ อะไรคือเครื่องใช้ไฟฟ้า
  3. อาจารย์แนะนำการทำหนังสือภาพ จากนั้นก็ให้นักศึกษาไปทำมาส่ง โดยรูปภาพให้ใช้โบว์ชัวสินค้ามาตัดติดในหนังสือภาพ และให้เด็กอนุบาล 4 คนมีส่วนร่วมในการตัดกระดาษและเขียนคำศัพท์นั้นๆ จากนั้นให้นักศึกษาสังเกตพฤติกรรมและดูพัฒนาการของเด็ก
      การสร้างภาพปริศนาคำทาย
  1. เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
  2. วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
  3. เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้น โดยเริ่มจากลักษณะัที่ของหลายๆ สิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
  4. นำมาจัดเรียงลำดับ
  5. แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ
  6. อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง หนังสือภาพปริศนาคำทาย "มัน คือ อะไร"
  7. อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4 คน ทำีหนังสือภาพปริศนาคำทาย โดยทำเป็นดัมมี่ก่อน แล้วให้อาจารย์ตรวจ

    งานที่อาจารย์มอบหมาย 
  1. อาจารย์ให้ทำ หนังสือภาพ
  2. อาจารย์ให้ทำ หนังสือภาพปริศนาคำทาย
                               

    วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

    วัน พฤหัสบดี ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

        การเรียนการสอน

    • ไม่มีการเรียนการสอน
        หมายเหตุ
    • มีกิจกรรมกีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

                              


                                                 

    บันทึกการเรียนรู้ึครั้งที่ 9

    วันพฤหัสที่  2  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


            การเรียนการสอน


    วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

    ว่าควรมีหลักการอย่างไร และได้เปิดนิทานแบบ E-Book ให้นักศึกษาดู  เรื่องแม่ไก่สีแดงพร้อมวิเคราะห์ร่วมกัน

    อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา

              เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี


              องค์ประกอบของภาษา ประกอบไปด้วย 
               เสียง                  การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน       ระบบเสียง ตัวอักษร
              ไวยากรณ์          คำ ประโยค
               ความหมาย       คำศัพท์ ประโยคข้อความ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสัั่่ง

               ภาษาประกอบด้วย  การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ แนวทางการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม นวัตกรรมทางภาษา เด็กปฐมวัย   พัฒนาการ สติปัญญา  วิธีการเรียน สมรรถณะทางภาษาและอาจารย์ได้พูดถึง

           คำกล่าวทักทายอาเซียน 10 ประเทศ

    บรูไน
    ซาลามัต ดาตัง
    อินโดนีเซีย
    ซาลามัต เซียง
    มาเลเซีย
    ซาลามัต ดาตัง
    ฟิลิปปินส์
    กูมุสตา
    สิงคโปร์
    หนีห่าว
    ไทย
    สวัสดี
    กัมพูชา
    ซัวสเด
    ลาว
    สะบายดี
    พม่า
    มิงกาลาบา
    เวียดนาม
    ซินจ่าว




    หมายเหตุ  ไม่ได้มาเรียน ลอกจาก นางสาว ดาราวรรณ นาวงศ์  เนื่องจากปวดหัวมาก


                                 

    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

    วันพฤหัสบดีที่  26  มกราคม พ.ศ.2555


       การเรียนการสอน
    • อิทธิบาท 4
    คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
    ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
    ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
    ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
    ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
    ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
    ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
    วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
    จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
    วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่
    • การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ควรคำนึงถึง พัฒนาการ ความพร้อม ความต้องการและควมหมาย
    • มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรูปแบบ วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การใช้ภาษาพูดและเขียน การพัฒนาทักษะการใช้ภาษา ดังกล่าว จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น
    • เด็กเรียนการฟังและการพูด โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่ เมื่ออายุได้สี่ถึงห้าปี
    • สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนักและมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็กก็คือความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งด้านภาษาศาสตร์
    • บลูมและลาเฮย์ ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการ คือ

    1. ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส (code)
    2. ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติเกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์
    3. ภาษาเป็นระบบ

    • สรุป ภาษาคือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขั้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
    • องค์ประกอบภาษา คือ เสียง ไวยากรณ์ ความหมาย การอ่าน ระบบเสียง คำ ประโยค คำศัพท์ ประโยคข้อความ สัญลักษณ์การอ่าน ตัวอักษร
                                     

    วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

    วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

        การเรียนการสอน



    - อาจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเวปไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง) โดยดร.นฤมล เนียมหอมการเล่านิทาน
    เริ่มแรกใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
    1. อาจารย์ได้อธิบายถึงกิจกรรมหลัก  
    2 . อาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร? พร้อมอธิบาย
    3.  กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้อะไร
       - ตัวละคร 
       - ฉาก 
       - รู้จักลำดับเหตุการณ์  
       - บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ


    งานที่ได้รับมอบหมาย
    - อาจารย์ให้นักศึกษาไปหาความหมายของคำว่า ฉันทะ   วิริยะ   จิตตะ  วิมังสา   คืออะไร
    - อาจารย์ให้ไปสมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อคของตัวเอง

    หมายเหตุ
    • ลอกจาก นางสาว อารีวรรณ พวงเงิน  เพราะว่าไม่ได้ไปเรียน เนื่องจากไปค่ายภาษาอังกฤษ
                                      

      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

      วันพฤหัสที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

               การเรียนการสอน

      • นักศึกษานำเสนองาน Power Point ที่ได้ไปเล่านิทานให้เด็กฟัง
                               งาน Power Point ของข้าพเจ้า

        


                         สิ่งที่อาจารย์แนะนำ
      1. ในการจดบันทึกพฤติกรรมของเด็ก ไม่ควรตีความเอง ว่้า เด็กไม่สนใจฟัง เพราะบางครั้งหูเค้าอาจจะฟัง แต่แค่มองไปรอบๆ เท่านั้นเอง
      2. อย่าตัดสินเด็กว่าฉลาดหรืิอไม่ฉลาดเพียงแค่เจอเพียงแค่ครั้งเดียว
      3. ถ้าเด็กไม่ค่อยพูด ควรกระตุ้นและส่งเสริมในเรื่องที่เขาชอบ ไม่ต้องตั้งกิจกรรมใหม่
                                       

      วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

      วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

                การเรียนการสอน
      •  เนื่อในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์สั่งให้ทำงาน ให้ทำ Power Point เกี่ยวกับงานที่ไปเล่านิทานให้เด็กฟัง แล้วเตรียมนำเสนออาทิตย์หน้า
                                      

      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

      วันพฤหัสที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

            การเรียนการสอน
      •  อาจารย์ให้นักศึกษา เขียนภาษาประจำท้องถิ่นของตนเอง ภาษาบ้านเกิดของข้าพเจ้า คือ ภาษาอีสาน ยกตัวอย่างเช่น
      1. สิไปไส       แปลว่า   จะไปไหน
      2. เว้า             แปลว่า    พูด
      3. อีหยัง         แปลว่า    อะไร
      4. เป็นจั่งได๋   แปลว่า    เป็นยังไง
      5. บักอึ           แปลว่า    ฟักทอง
      6. บักหุ่ง         แปลว่า    มะละกอ
      7. บักเขียบ     แปลว่า    น้อยหน่า
      8. บักต้อง      แปลว่า     ลูกกระท้อน
      9. ผู้ได๋           แปลว่า     ใคร
      10. กะซาง       แปลว่า     แล้วแต่ ไม่ใส่ใจ
      • อาจารย์ให้นักศึกษาไปดูงานปีใหม่ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
                  
                                          

      วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

      วันพฤหัสที่ 22 ธันวาคม 2554

                 กิจกรรมการเรียนการสอน

      • อาจารย์ให้นักศึกษานำ วีดีโอที่ไปสัมภาษณ์เด็ก นำเสนอ
      • อาจารย์ชี้แนะและแนะนำในการใช้ภาษาในการที่สื่อสารกับเด็กให้เกิดความเข้าใจ
                 การเรียนการสอน

      • ภาษา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้สื่อสาร เพื่อให้เข้าใจและรู้ถึงความต้องการ ผ่านการฟัง พูด อ่าน และเขียน
      • ความสำคัญของภาษา คือ เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจและเพื่อนำไปใช้ในขั้นต่อๆ ไป 
      • สรุปความสำคัญของภาษา
                   1.  เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
                   2.  เป็นเครื่องมือในการเรียน
                   3.  จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
                   4.  ภาษาเป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้นๆ
                   5.  ภาษาแสดงถึงวัฒนธรรมประเพณี
      •   การแบ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget)
      1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว  (Sensori-Motor  Stage)  อายุ 0-2 ปี
      2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational  Stage)  ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี
      3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete  Operation  Stage)  ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
      4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal  Operational  Stage)  นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี
                   งานที่อาจารย์สั่ง 
      1. ให้ไปหานักจิตวิทยาในการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษามา 1 ท่าน
      2. ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟัง แล้วถาม 3 คำถาม
       

      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

      วัน พฤหัสที่ 15 ธันวาคม 2554

           การเรียนการสอน
      - พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
      - พฤติกรรม คือ การแสดงออกมา
      - วิธีการเรียนรู้ เช่น สังเกต สัมผัส ฟัง ดม ชิมรส เป็นต้น
      - อิสระ คือ การเลือก ตัดสินใจ การลองผิดลองถูก
      - ภาษา คือ การได้ ฟัง พูด อ่าน เขียน
      - การจัดประสบการณ์ควรคำนึงถึง

      •  เทคนิค     
      •  รูปแปป 
      • หลักการ
      • วิธีการ
      • ขั้นตอน
      • การประเมิน
      • สื่อ
      - สมอง รับรู้ข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
      - เทคนิคในการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย คือ  เพลง เล่านิทาน  เกม บทบาทสมมุติ

            งานที่อาจารย์สั่ง

      1. ทำบล็อค และลิ้งค์หาอาจารย์
      2. ให้ไปสัมภาษณ์เด็กอนุบาล พร้อมถ่ายคลิปแล้วนำเสนอ
             วีดีโอสัมภาษณ์ น้องจิงจิง
                          
                                คำเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอน
      1. การที่จะไปสัมภาษณ์เด็ก จะต้องเตรียมคำถามและภาษาให้ถูกต้อง
      2. ใช้คำถามไม่ถูกต้อง คำถามที่ว่า ชอบการ์ตูนอะไรคะ  อาจารย์แนะนำว่า ควรจะถามว่า ชอบการ์ตูนเรื่อง อะไรคะ ให้เพิ่มคำว่า เรื่อง เข้าไป เพื่อจะทำให้เด็กเข้าใจและสามารถโต้ตอบสื่อสารได้อย่างถูกต้อง
                                                                           

      วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

      วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

      • ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
         สิ่งที่อาจารย์สั่ง

             1. อาทิตย์หน้าให้เอาต้นดาวเรืองมากลุ่มละ 1 ต้น